ห้างพันธุ์ทิพย์ พลาซ่า

ย้อนภาพจำ ห้างในยุคY2K อย่างห้างพันธุ์ทิพย์ พลาซ่า เปิดตัวครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2527 โดยเจ้าของมือแรกคือ ตระกูลบุนนาค แต่เดิมไม่ได้เป็นห้างไอที แต่เป็นศูนย์การค้าทั่วไปที่มีโรงภาพยนตร์และภัตตาคาร ด้วยการแข่งขันสูงขึ้นในย่านประตูน้ำ ทำให้สุดท้ายตัดสินใจขายไปให้กับ “ทีซีซีกรุ๊ป” ของตระกูลสิริวัฒนภักดีในปี 2531 ปิดดีลด้วยมูลค่ากว่า 1,000 ล้านบาท

ห้างในยุคY2K

รูปจาก : https://th.wikipedia.org/wiki/%

หลังจากนั้นก็เริ่มมีการปรับเปลี่ยนแนวทางใหม่ ทีซีซีเป็นผู้ปั้นให้ พันธุ์ทิพย์พลาซ่า ประตูน้ำ กลายเป็นห้าวไอที ชักนำผู้ประกอบการเข้ามาเปิดร้าน และมีช่วงเวลาที่รุ่งโรจน์ที่สุดในปีพ.ศ. 2540-2550 เป็นยุคที่แต่ละครัวเรือนต่างก็มีคอมฯ ประกอบใช้งาน และในยุคนั้นเป็นช่วงที่เฟื่องฟูสุดๆ ของผแผ่นซีดีเพลงและภาพยนตร์ละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งพันธุ์ทิพย์ พลาซ่า ประตูน้ำ กลายเป็นแหล่งใหญ่ในการซื้อ-ขาย

หลังจากประสบความสำเร็จในการเป็นห้างไอที ทำให้พันธุ์ทิพย์ขยายไปอีก 3 สาขา คือ สาขาเชียงใหม่ สาขางามวงศ์วาน และสาขาบางกะปิ โดยใช้ธีมห้างไอทีเหมือนเดิม

ยุครุ่งเรืองของ ห้างพันธุ์ทิพย์ มีอะไรบ้าง

คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะหรือ Computer Desktop ในอดีตแม้จะมีสเปกเทียบกับยุคนี้ไม่ได้ แต่ก็เคยเป็นสินค้าไอทีราคาแพงที่กว่าจะได้มาใช้สักเครื่องต้องหาความรู้กันพอสมควร และที่สำคัญคือต้องหาร้านประกอบคอมด้วย แน่นอนว่าที่ “พันธุ์ทิพย์ พลาซ่า” คือศูนย์รวมร้านประกอบคอมพิวเตอร์ และร้านซ่อมคอม ทั้งร้านใหญ่ร้านย่อยพร้อมต้อนรับลูกค้า หลายคนอาจจำความรู้สึกของการไปยืนเลือกสเปก เลือกฮาร์ดแวร์แต่ละชิ้นกันได้ การจดใส่กระดาษ เลือกของทีละชิ้นในยุคนั้นมีเสน่ห์มากๆ

ห้างในยุคY2K

ศูนย์รวมโทรศัพท์มือถือในยุค 90s มาจนถึงปัจจุบัน ห้างในยุคY2K ที่หลายคนนึกถึง ห้างมาบุญครอง (MBK Center) เพราะจนถึงปัจจุบัน MBK ก็ยังคึกคักด้วยร้านมือถือไม่ว่าจะเป็นศูนย์บริการของแบรนด์โดยตรงหรือร้านตู้กระจกที่อัดแน่นอยู่ในนั้น แต่ยุคหนึ่ง “ห้างพันธุ์ทิพย์” ก็เป็นศูนย์รวมโทรศัพท์มือถือเช่นกัน ยุคทองที่สุดคือช่วงโทรศัพท์มือถือยังไม่เข้าสู่ยุคสมาร์ทโฟนเต็มที่นัก เรียกได้ว่าโทรศัพท์มือถือสมัยจอขาวดำไล่มาจนเป็นจอสี ผ่านช่วงโทรศัพท์ที่เรียกว่าblackberry นี่คือยุคทองสุดๆ ที่วงการโทรศัพท์มือถือในพันธุ์ทิพย์คึกคักมาก

ทั้งงานลดราคาสินค้า ทั้งงานอีเวนต์เกี่ยวกับไอที ไปจนถึงงานเกม ล้วนเคยใช้บริเวณลานตรงกลางห้างเพื่อเป็นสถานที่จัดงาน แต่เมื่อบทบาทของ “พันธุ์ทิพย์” ไม่เหมือนเดิม จากห้างดังกลายเป็นซบเซา ไม่เพียงแต่ร้านรวงที่ย้ายออกไปเกือบหมด ลานตรงกลางห้างก็ไม่ได้มีอีเวนต์มาจัดนานมากแล้ว

ไม่ได้มีแต่ร้านยิบร้านย่อยหรือร้านตัวแทนจำหน่ายเท่านั้น ที่ “ห้างพันธุ์ทิพย์” มีศูนย์บริการของแบรนด์คอมพิวเตอร์ แบรนด์ผลิตภัณฑ์ไอที แทบจะครบทุกแบรนด์ สำหรับคนที่ต้องนำอุปกรณ์ซึ่งยังอยู่ในการรับประกันก็มาที่นี่จบครบในที่เดียว

ห้างในยุคY2K

ช่วงที่สตรีมมิงยังไม่เกิด แต่เทคโนโลยีการฟังเพลงก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลพอสมควรแล้ว แต่เครื่องมือที่ใช้ฟังเพลง (รวมถึงดูหนัง) ยังต้องผ่านตัวกลางอย่างแผ่นซีดี นั่นทำให้การปั๊มแผ่นเพลงที่เรียกกันติดปากว่า MP3 แพร่หลายมาก แน่นอนว่าที่ “พันธุ์ทิพย์” คือแหล่งจำหน่ายแผ่นเพลงเถื่อนเหล่านี้ ซึ่งแต่ละแผ่นจะจัดเต็มด้วยเพลงนับร้อยๆ เพลง ชนิดที่ว่าเปิดแผ่นเดียวฟังจากกรุงเทพฯถึงเชียงใหม่ก็อาจจะไม่ซ้ำเพลงเลยทีเดียว

 นอกจากสินค้าไอทีทุกรูปแบบแล้ว “พันธุ์ทิพย์” ยังมีมุมมืดที่หลายคนมองเห็นและรับรู้อยู่ว่ามี คือก่อนจะเป็นยุคที่ใครต่อใครก็เข้าถึงหนังผู้ใหญ่หรือเรียกง่ายๆ ว่าหนังโป๊ได้เพียงปลายนิ้ว เราได้ผ่านยุคที่การเสพสื่อประเภทนี้อยู่ในรูปแบบวิดีโอ แผ่นวีซีดี และแผ่นดีวีดี มาตามลำดับ และที่พันธุ์ทิพย์ก็คือแหล่งรวมแผ่นหนังโป๊ที่ใหญ่สุดแห่งหนึ่ง หากใครทันยุคนั้นแล้วบังเอิญเดินผ่านร้านที่ขายโดยเฉพาะบริเวณชั้น M จะได้ยินวลีติดหู “โป๊ไหมครับ?”

การปรับโฉมใหม่ของ ห้างพันธุ์ทิพย์ พลาซ่า ประตูน้ำ

ในช่วงปีพ.ศ 2557 ทีซีซีมีการปรับเปลี่ยนโฉมใหม่ในสาขาประตูน้ำ พร้อมคอนเซ็ปใหม่“เทคไลฟ์ มอลล์ ” คือเป็นห้างไอทีสมัยใหม่ ให้นิยามคำว่าไอทีกว้างขึ้น ไม่ใช่แค่คอมพิวเตอร์ แต่ยังมีไอทีด้านอื่นๆ รวมถึงมีโคเวิร์กกิ้งสเปซมาเสริมด้วย รวมทั้งวางแผนปรับปรุงอาคารให้เป็นสไตล์ที่ทันสมัยขึ้น อย่างไรก็ตาม ทางเจ้าของห้างต้องเจอกระแสต่อต้านและประท้วงจากผู้เช่าในศูนย์ฯ เพราะผู้เช่ามองว่า การก่อสร้างปรับปรุงที่ยาวนานมากกว่า 1 ปี ทำให้ลูกค้าเข้าใจผิดว่าพันธุ์ทิพย์จะปิดตัว จนลูกค้ามาเดินห้างน้อยลง และยังส่งผลให้ยอดขายของแต่ละร้านลดลงด้วย ที่สุดแล้วร้านค้ารายย่อยที่เคยมีมากกว่า 600 ราย จึงทยอยย้ายออกจนเหลือราวๆ 300 รายในปี 2558 และในที่สุดพันธุ์ทิพย์ พลาซ่า ประตูน้ำก็ปรับโฉมเสร็จในปี 2559 พร้อมเปิดตัว Pantip eSport Arena สร้างจุดดึงดูใหม่ให้วัยรุ่นมาเดินห้าง

ห้างในยุคY2K

แต่ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไป กระแสของพันธุ์ทิพย์ก็แผ่วลงอีกครั้ง เมื่ออีคอมเมิร์ซบูมในปี 2560 ทำให้ผู้บริโภคยิ่งสะดวกในการหาซื้อสินค้าไอทีผ่านช่องทางออนไลน์แทนการเดินห้าง และในช่วงต้นปี 2563 ห้างยังต้องเจอกับภัยโควิด-19 ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ของหลายๆธุรกิจ รวมถึงพันธุ์ทิพย์ แห่งนี้ด้วย 

ปลายปี 2563 มีการประกาศที่ปิดตำนาน “พันธุ์ทิพย์ พลาซ่า ประตูน้ำ” เพราะห้างถูกเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น AEC Trade Center Pantip Pratunam เลิกเป็นห้างไอที เปลี่ยนมาเป็นศูนย์ค้าส่งค้าแทน อย่างไรก็ตาม โควิด-19 ดูเหมือนว่าจะไม่จบลงง่ายๆ ทำให้ใรปี 2566 มีการปรับคอนเซ็ปต์ใหม่อีกครั้งเป็น “AEC Food Wholesale Pratunam” ที่มีเป้าหมายจะเป็น ศูนย์การค้าส่งอาหารของภูมิภาค

ติดตามเรื่องราวY2K : แบรนด์เสื้อผ้านยุคY2K