มหันตภัย สึนามิ เมื่อปี 2004
ถ้าพูดถึงมหันตภัยที่จู่โจมประเทศไทย คงไม่มีใครลืมเหตุการณ์ เมื่อปี 2004 ได้ คำว่า สึนามิ ภูเก็ต กลายเป็นชื่อเรียกติดปากเกี่ยวกับเหตุ สึนามิถล่มประเทศไทยใน 3 จังหวัดสำคัญทางภาคใต้ ภูเก็ต พังงา และกระบี่ ที่ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 5,000 คน สูญหายอีกกว่า 2,800 คน และทำให้เด็กต้องกำพร้าพ่อแม่อีกกว่า 1,480 คน…และนั่นคือความสูญเสียเพียงแค่ประเทศเดียว และเป็นเหตุการณ์ที่คนไทยจะไม่มีวันลืม
และในเดือนธันวาคมที่จะถึงนี้ ก็เป็นช่วงเวลาครบรอบ 19 ปี แห่ง การรำลึกถึงเหตุการณ์ สึนามิ ถล่มภาคใต้ของไทย ซึ่งก็มีภาพยนตร์ที่น่าสนใจอยู่เรื่องหนึ่งคือ “The Impossible 2004 สึนามิ ภูเก็ต” ซึ่งสร้างจากประสบการณ์จริงของครอบครัวผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์ครั้งนั้น ที่ต้องเผชิญหน้ามหันตภัยพร้อมกับผู้ร่วมชะตากรรมอีกนับพันคน และสิ่งที่จะช่วยให้พวกเขารอดพ้นวิกฤติหายนะครั้งนี้ได้ก็มีเพียงความห่วงใย ความกล้า และความหวังเท่านั้น ภาพยนตร์เรื่องนี้ผู้สร้างระดับฮอลลีวูด ใช้เวลาเตรียมงานสร้างกว่า 2 ปี ถ่ายทำทั้งในสเปนและไทย โดยหนังเปิดกล้องในสตูดิโอที่เมืองอัลลิคานเต้ ก่อนที่จะย้ายมาถ่ายทำที่เขาหลัก ประเทศไทย ซึ่งหลายแห่งก็เป็นสถานที่จริงที่เคยถูกสึนามิถล่มในครั้งนั้น และยังได้ดาราดังจากฮอลลีวูดมาแสดงนำอีกด้วย
ย้อนหลังไปประมาณห้าร้อยกว่าปี บันทึกสินามิจากรุนแรงน้อยไปหารุนแรงมากที่สุด
- อ่าวอิเซ ประเทศญี่ปุ่น 18 มกราคม พ.ศ.2129
สึนามิครั้งนั้น เกิดจากมีแผ่นดินไหว ประมาณ 8.2 ริกเตอร์ คลื่นยักษ์สูง 6 เมตร โถมเข้าใส่หลายเมืองทำความเสียหายอย่างยับเยิน เมือง นากาฮามาเกิดไฟไหม้ลามไปราวครึ่งเมือง เนื่อง จากแผ่นดินไหว ความแรงของการไหวยังทำให้น้ำในทะเลสาบบิวะที่อยู่ใกล้เมืองเกิดการกระเพื่อมอย่างรุนแรงจนน้ำไหลทะลักเข้าท่วมตัวเมืองด้วย ภัยพิบัติครานั้นคร่าชีวิตผู้คนไปประมาณ 8,000 คน
- เกาะเรียวกุ ประเทศญี่ปุ่น 24 เมษายน พ.ศ.2314
เกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.4 ริกเตอร์ แล้วตามมาด้วยคลื่นสึนามิที่คาดว่าน่าจะสูงประมาณ 11-15 เมตร เกาะที่ได้รับความเสียหายหนักที่สุดมีสองเกาะคือ เกาะอิชิกากิ และเกาะมิยาโกะ บ้านเรือนของผู้คนบนเกาะถูกทำลายไปถึง 3,137 หลัง พร้อมกับชีวิตผู้คนอีกประมาณ 12,000 ชีวิต
- ทางตอนเหนือของชิลี 13 สิงหาคม พ.ศ.2411
ฃเกิดแผ่นดินไหวขนาด 8.5 ริกเตอร์ ในมหาสมุทรนอกชายฝั่งอรีก้า (ในเวลานั้นยังเป็นของประเทศเปรู) แรงสั่นสะเทือนทำให้เกิดคลื่นยักษ์ที่สูงถึง 21 เมตร พัดเข้าใส่ชายฝั่งด้านตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้อย่างรุนแรง นอกจากนั้น คลื่นสึนามิยังไปไกลถึงเมืองซิดนีย์ ออสเตรเลีย ทั้งแผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์ในครั้งนั้นมีผู้เสียชีวิตไป 25,000 คน กับทรัพย์สินมูลค่าประมาณ 300 ล้านดอลลาร์
- ยอดผู้เสียชีวิตใน 6 จังหวัด จากเหตุภัยพิบัติสึนามิ เมื่อปี่ พ.ศ.2547
ระนอง ผู้เสียชีวิต 160 คน
พังงา ผู้เสียชีวิต 4,244 คน
ภูเก็ต ผู้เสียชีวิต 279 คน
กระบี่ ผู้เสียชีวิต 721 คน
ตรัง ผู้เสียชีวิต 5 คน
สตูล ผู้เสียชีวิต 6 คน
ผู้รอดชีวิตจากสึนามิ
พริ้มเพรา และสามีของเธอ นพ. สมชาย จิตเป็นธม ไม่ใช่คนภูเก็ตโดยกำเนิดแต่อยู่อาศัยและทำงานเป็นบุคลากรทางการแพทย์บนเกาะภูเก็ตมาหลายสิบปี เช้าวันที่ 26 ธ.ค. 2547 พริ้มเพราวางแผนพาเพื่อน 2 คน ที่มาจากกรุงเทพฯ ไปดำน้ำดูปะการังที่บริเวณเกาะราชาใหญ่ โดยพริ้มเพราและสมชายได้พาลูกชายวัย 9 ขวบ และ 5 ขวบ พร้อมด้วยคุณแม่วัยเกือบ 80 ปีและแม่บ้าน ร่วมเดินทางท่องเที่ยวแบบครอบครัวในวันนั้นด้วย
พริ้มเพราไปถึงท่าเรืออ่าวฉลองตามกำหนดเวลา แต่ถังออกซิเจนเพื่อใช้ในการดำน้ำยังมาไม่ถึง ทำให้เธอต้องเสียเวลาไปมากกับการรออุปกรณ์สำคัญ “ตอนนั้นก็คุยกับคนแถวท่าเรือ มีคนที่ทำงานที่นั่นคนหนึ่งบอกว่าเมื่อเช้ามีข่าวแผ่นดินไหวที่อินโดนีเซีย รู้สึกมาถึงภูเก็ตเลย เราก็ยิ้มอยู่ในใจว่ามันเกินไปรึเปล่า ก็ไม่ได้คิดมากอะไรและลงเรือไป” พริ้มเพรากล่าว
ตอนแรกทางครอบครัววางแผนเอาไว้ว่าจะพาเด็ก ๆ คุณแม่ และแม่บ้านขึ้นไปส่งที่ชายหาดของเกาะราชาใหญ่ก่อนเพื่อให้เล่นน้ำรออยู่ที่ชายหาด จากนั้นกลุ่มผู้ใหญ่และครูฝึกจะออกเรือไปดำน้ำลึกนอกชายฝั่งของเกาะราชาใหญ่ “พอเรือสปีดโบ๊ทที่เรานั่งมาใกล้จะถึงเกาะ ครูดำน้ำที่เดินทางมาด้วยกันก็บอกให้หยุดเรือก่อน เพราะเขาเห็นสิ่งผิดปรกติที่ชายหาด เขาชี้ให้ดูและพวกเราก็เห็นว่าน้ำทะเลบริเวณชายหาดลดลงอย่างรวดเร็ว จากนั้นครูดำน้ำก็สั่งให้เรือหันหัวออกไปสู่ทะเล” พริ้มเพราอธิบาย
“ทันใดนั้นพวกเราก็รู้สึกได้ถึงคลื่นลูกแรกที่ยกเรือเราขึ้น และพัดเข้าชายฝั่ง จากนั้นมันก็ซัดเอาร่มและเก้าอี้บนชายหาดและดึงสิ่งของต่าง ๆ ลงมาในทะเล จากนั้นลูกที่สองก็ซัดมา คราวนี้มันเข้าปะทะกับบังกะโลและร้านอาหารเข้าอย่างจัง และดึงเอาทุกอย่างลงน้ำมาด้วย” จากนั้นเพื่อนของพริ้มเพราได้ติดต่อสอบถามนายทหารเรือที่รู้จักว่าจึงได้ข้อมูลว่าเกิด”สึนามิ”ถึงแม้เธอจะยังไม่เข้าใจมันเป็นอย่างดีแต่คำแนะนำจากปลายสายก็ชัดเจนแล้วว่าเธอต้องหาเรือลำใหญ่กว่านี้เพื่อขึ้นไปหลบภัย
หลังผ่านเหตุการณ์ไม่นาน มีศพที่รอให้ญาติมาเทียบผลดีเอ็นเอและพากลับไปประกอบพิธีกรรมตามความเชื่ออยู่นับพันศพ โดยทางสถาบันนิติเวชได้ทำการย้ายศพไปอยู่ที่สุสานไม้ขาว จ.ภูเก็ต เพื่อให้สะดวกต่อชาวต่างชาติที่มาขอติดต่อนำญาติคืน เพราะใกล้สนามบินและสะดวกในการเดินทางมากกว่า หลังจากนั้น 2 ปี ยังมีศพไร้ญาติตกค้างอยู่กว่า 400 ศพ จึงสั่งให้ทำการย้ายศพที่เหลือทั้งหมดกลับไปไว้ที่สุสานศพไร้ญาติ บ้านบางมรวน ต.บางม่วง อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา ซึ่งภายหลังได้รับการจัดทำใหม่และเปลี่ยนชื่อเป็นสุสานศพนิรนามเหตุการณ์สึนามิ
ติดตามเรื่องราว : ตู้สติกเกอร์