ภาวะฟองสบู่แตก (Economic Bubble)

ภาวะฟองสบู่แตก คือ ภาวะที่ราคาของสินทรัพย์ เช่น อสังหาริมทรัพย์หรือหน่วยลงทุนต่างๆ เพิ่มขึ้นสูงเกินกว่าราคาตามความเป็นจริง จนเกิดอุปสงค์เทียมจากการเกร็งกำไรที่ทำให้ราคาเพิ่้มสูงขึ้นไปเรื่อยๆ เป็นวงจร และขยายตัวเหมือนฟองสบู่ โดยส่วนใหญ่ภาวะฟองสบู่นี้จะจบลงเมื่อเกิดเหตุที่ทำให้นักลงทุนเลิกคาดหวังว่าราคาจะเพิ่มขึ้นอีก หรือรัฐบาลออกนโยบายเพื่อดึงราคาลงสู่ภาวะปกติ เช่นขึ้นอัตราดอกเบี้ย จึงทำให้การเก็งกำไรและราคาที่สูงกว่าความเป็นจริงลดลง ราคาสินทรัพย์ในภาวะฟองสบู่ตั้งอยู่บนสมมติฐานว่าราคาจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น เมื่อราคาเริ่มลดลงภาวะฟองสบู่ก็จะหดตัวลงอย่างรวดเร็ว จนทำให้เกิด ภาวะฟองสบู่แตก ซึ่งมักจะทำให้เกิดปัญหาหนี้สินเกิดขึ้นตามมา

ภาวะฟองสบู่แตก

กลไกที่สำคัญที่ทำให้ ภาวะฟองสบู่แตก มีผลอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจ คือ “หนี้” ซึ่งไม่ได้ปรับลดลงไปพร้อมกับราคาสินทรัพย์ด้วย จนส่งผลกระทบต่อ “ทุน” ของหน่วยเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาล บริษัทเอกชน ห้างร้าน หรือแม้แต่ภาคครัวเรือน

ในบางกรณี อาจมีการเพิ่มขึ้นของหนี้ซ้ำเติมไปด้วย เช่น กรณีวิกฤตเศรษฐกิจ 2540 ของไทยการที่ค่าเงินบาทอ่อนลง ส่งผลให้มูลค่าหนี้เพิ่มขึ้นมหาศาลจากการสะสมหนี้ต่างประเทศและการมี balance sheet mismatch ของภาคเศรษฐกิจ

5 ขั้นตอนการเกิดฟองสบู่

  • 1. Displacement การเกิดขึ้นของสิ่งน่าดึงดูดใจใหม่ๆ เช่นเทคโนโลยีใหม่ หรืออัตราดอกเบี้ยที่ลดลงเป็นประวัติการณ์
  • 2. Boom สิ่งที่น่าดึงดูกใจนั้นกลายเป็นกระแสที่ถูกพูดถึงเป็นวงกว้าง นักลงทุนต่างหลั่งไหลเข้ามาพร้อมๆกัน เกิดความกลัวการ ”ตกรถ” หรือการสูญเสียโอกาสที่เกิดขึ้นแค่ครั้งเดียวในชีวิต
  • 3. Euphoria สถานการณ์ที่ไม่ว่าราคาของสินทรัพย์ลงทุนนั้นจะพุ่งขึ้นไปเท่าไหร่ ก็จพยังคงมีนักลงทุนที่พร้อมจะเข้าสู่วงการลงทุนในสิ่งนั้นอยู่ดี ราคาของสินทรัพย์ลงทุนจะยิ่งพุ่งสูงจนฉุดไม่อยู่
  • 4. Profit-taking จุดที่นักลงทุนบางกลุ่มเริ่มกระโดดออกจากฟองสบู่ที่กำลังต่อตัวเพื่อฉวยโอกาสทำกำไร เกิดเป็นจังหวะย่อตัวครั้งแรกๆของตลาด
  • 5. Panic ผู้คนลืมความน่าดึงดูดใจของสินทรัพย์ลงทุนนั้นไปจนหมดและเร่งขายสินทรัพย์เพื่อถือเงินสดให้ได้มากที่สุด ราคาของสินทรัพย์ลงทุนรูดลงอย่างรวดเร็วและรุนแรง เป็นจังหวะที่เกิดขึ้นได้ในช่วงเวลาสั้นๆ และไม่สามารถกะเกณฑ์ได้แน่ชัดว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่

ซึ่งปัจจุบัน หุ้นเทคโนโลยีและ Cryptocurrency เป็น 2 ตลาดการลงทุนที่ถูกเพ่งเล็งมากที่สุดในฐานะการตลาดลงทุน ที่อาจกำลังเกิดภาวะฟองสบู่

ภาวะฟองสบู่แตก

รับมืออย่างไรดีกับภาวะฟองสบู่แตก

ในช่วงที่ผ่านมามีสัญญาณเตือนว่าอาจจะเกิดเหตุการณ์ฟองสบู่แตกขึ้นได้ในไม่นานนี้ โดยเฉพาะในวงการอสังหาฯ เริ่มตั้งแต่ในช่วง 10 เดือนแรกของปี พ.ศ. 2561 ที่ผ่านมามีการเปิดตัวโครงการที่อยู่อาศัยมากถึง 339 โครงการ หรือเป็นจำนวนมากถึง 99,938 หน่วย มีมูลค่าเฉลี่ยสูงถึงหน่วยละ 4.3 ล้านบาท นับว่าสูงที่สุดเท่าที่เคยปรากฏมาจากเดิมเฉลี่ยเพียงปีละ 4 ล้านบาทเท่านั้น ซึ่งก็เปรียบเทียบได้กับการเกิดฟองสบู่ที่กำลังเริ่มลอยตัวสูงขึ้น

เมื่อเกิดฟองสบู่ขึ้น ระยะเวลาการเพาะตัวของฟองสบู่จนถึงจุดวิกฤตฟองสบู่แตกมักจะเกิดขึ้นภายใน 2-3 ปี เพราะจะเกิดการล้นของสินค้าในหมวดอสังหาฯ มากจนเกินไป รวมถึงปัจจัยนักลงทุนต่างชาติโดยเฉพาะนักลงทุนชาวจีน ที่เข้ามากว้านซื้ออสังหาริมทรัพย์ ประเภทคอนโดฯ ในไทยมากเป็นประวัติการณ์ และหากเกิดสงครามการค้ากับสหรัฐอเมริกา นักลงทุนจีนอาจถอนตัวกลับประเทศ รวมถึงนักลงทุน

ภาวะฟองสบู่แตก

วิธีการรับมือกับภาวะฟองสบู่

  • หากเราเห็นด้วยว่าภาวะฟองสบู่กำลังจะเกิดขึ้นและเริ่มกังวล สิ่งแนะนำให้ทำคือทบทวนวัตถุประสงค์การลงทุนในสินทรัพย์การลงทุนของตัวเอง
  • หากเชื่อว่าจะได้รับผลตอบแทนสูงและรวดเร็ว ก็อาจสังเกตเห็นได้ไม่ยากว่าเราเองก็อาจเป็นหน่งในผู้ที่กำลังร่วมเป่าฟองสบู่อยู่ด้วย
  • และหากวิเคราะห์ถึงแก่นกลางของสินทรัพย์ลงทุนนั้นแล้ว พบว่าไม่เหมาะกับเป้าหมายการลงทุนของเราอีกต่อไป ก็อาจตัดใจออกจากการลงทุนนั้นตั้งแต่เนิ่นๆ หรือจำกัดสัดส่วนการลงทุนให้น้อยลงและกระจายความเสี่ยงไปยังการลงทุนที่ให้ความสบายใจได้มากกว่าแทน
  • หรือหากยังมองเห็นเหตุผลสนับสนุนนที่ดีในการลงทุนในสินทรัพย์นั้นอยู่ก็อาจรักษาวินัยทยอยลงทุนทีละเล็กน้อยอย่างต่อเนื่อง หรือสะสมเงินสดไว้ก่อนเพื่อรอจังหวะตลาดฟื้นตัว

ตัวอย่างของภาวะฟองสบู่ครั้งใหญ่

  • เช่น ฟองสบู่ในตลาดอสังหาริมทรัพย์สหรัฐ ที่ต่อมาได้นำไปสู่วิกฤติทางการเงินครั้งสำคัญอย่างวิกฤติ Subprime
  • มีจุดเริ่มต้นจากการปล่อยสินเชื่อบ้านโดยใช้เกณฑ์พิจารณาที่หละหลวม ผู้คนกู้เงินซื้อบ้านเยอะขึ้นทั้งที่อาจไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อใช้อยู่อาศัยจริง ๆ แต่ต้องการเก็งกำไร ประกอบกับการออกตราสารทางการเงินที่ตรึงเข้ากับดอกเบี้ยบ้านเพื่อให้นักลงทุนร่วมลงทุนในดอกเบี้ยบ้านได้ ก็ยิ่งเร่งให้ราคาอสังหาริมทรัพย์ปรับตัวสูงขึ้นมาก
  • ต่อมาเมื่อผู้กู้จ่ายหนี้บ้านไม่ไหวและไม่มีใครต้องการซื้อบ้านต่อ เกิดเป็นหนี้สูญจำนวนมาก กลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องล้มตามกันไปเป็นโดมิโนและลุกลามถึงเศรษฐกิจทั่วทั้งโลก
  • จากเหตุการณ์ครั้งนั้นก็อาจประมาณการหนี้สูญของสถาบันการเงินทั่วโลกได้ถึง 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์เลยทีเดียว

นอกจากนี้ ภาครัฐอาจเข้ามามีบทบาทในการช่วยเหลือประชาชนและผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากภาวะฟองสบู่แตก โดยการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ช่วยเหลือภาคธุรกิจ และบรรเทาภาระหนี้สินของประชาชน ตัวอย่างของภาวะฟองสบู่แตกที่เคยเกิดขึ้นในอดีต ได้แก่ วิกฤตต้มยำกุ้งในปี 2540 วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ในปี 2551 และวิกฤตการเงินโลกในปี 2555 ซึ่งล้วนส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก

ติดตามเรื่องราว : APEC 2003